วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรุปบทที่ 7 อาร์เรย์และฟังก์ชั่นจัดการสตริง

สรุปบทที่ 7 อาร์เรย์และฟังก์ชั่นจัดการสตริง



อาร์เรย์หรือตัวแปรชุดเป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่เหมาะกับการนำไปใช้เพื่อการประมวล 

ผลกลุ่มชุดข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น จึงมีแนวทาง  การแก้ไขเพื่อให้เราสามารถอ้างอิงตัวแปร เพื่อนำมาใช้งานได้ง่ายขึ้นที่เรียกว่าตัวแปรชนิดอาร์เรย์ โดยอาร์เรย์จะดำเนินการเสมือน  กับแบ่งหน่วยความจำออกเป็นช่องๆ  (Elements) และจะใช้เลขดัชนี (Index) หรือที่  เรียกว่า  ซับสคริปต์ (Supscipt) เป็นตัวชี้  ตำแหน่งของอิลิเมนต์นั้นๆ ซึ่งภาษาซีจะใช้  สัญลักษณ์  [n] เป็นตัวชี้ระบุตำแหน่ง



ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์: อาร์เรย์ ยังสามารถประกาศได้หลายชนิดด้วยกันซึ่งประกอบด้วยอาร์เรย์ 1 มิติอาร์เรย์ 2  มิติ และอาร์เรย์ 3 มิติ แต่โดยส่วยใหญ่  อาร์เรย์ 1 มิติและอาร์เรย์ 2 มิติ จะถูกนำมาใช้งานมากที่สุด 

     1. อาร์เรย์ 1 มิติ (One Dimension Array) เป็นตัวแปรอาร์เรย์แบบมิติเดียว ที่มีลักษณะ เสมือนตู้เก็บความจำที่เรียงกันเป็นลำดับ


2. อาร์เรย์ 2 มิติ (Two Dimension Array) รูปแบบของอาร์เรย์ 1 มิติมาแล้ว ซึ่งจะพบว่าจะจัดเก็บข้อมูลเป็นแนวราบแบบแถวลำดับ



ฟังก์ชั่นจัดการสตริง: สตริงหรือข้อความจะถูกจัดเก็บอยู่ในลักษณะของอาร์เรย์ของอักขระอีกทั้งยังมีการผนวกรหัส \0 ไว้ที่ท้ายข้อมูลเพื่อให้ทราบว่าเป็นจุดสิ้นสุดของข้อความนั้นๆ

1.ฟังก์ชั่น strcpy() เป็นฟังก์ที่นำมาใช้เพื่อคัดลอกข้อความไปเก็บไว้ในตัวแปรหรือคัดลอกจากตัวแปรสตริงหนึ่งไปเก็บไว้ยังตัวแปรอีกสตริงหนึ่ง




2. ฟังก์ชั่น strlen() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อขอทราบข้อมูลตัวอักขระที่บรรจุอยู่ในสตริง



3. ฟังก์ชั่น strcmp() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เปรียบเทียบสตริง 2  สตริงว่าตรงกันหรือไม่โดยหากผลตรวจสอบมีผลตรงกันก็จะรีเทิร์นค่าเป็น 0 แต่ถ้าผลไม่ตรงกันก็จะรีเทิร์นค่าที่เกิดจากผลต่างของอักขระ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างเลขรหัสแอสกีของค่าทั้งสอง 


4. ฟังก์ชั่น strcat() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อผนวกสตริง 2  สตริงเข้าด้วยกันโดยผลที่ได้จะเก็บไว้ที่ตัวแปรตัวแรกข้อควรระวังคือการเชื่อมสตริงจะทำให้เกิดความยาวของข้อความมากขึ้น ดังนั้น ขนาดความกว้างของตัวแปรที่จัดเก็บจะต้องมีความยาวเพียงพอต่อการจัดเก็บข้อความ v


5. ฟังก์ชั่น strlwr() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อแปลงอักขระในสตริงให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก 
6. ฟังก์ชั่น strupr() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อแปลงอักขระในสตริงให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่

7. ฟังก์ชั่น strrev() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้งานเพื่อสลับตำแหน่งข้อความแบบกลับหัว (Reverse) เช่น ข้อความ  123 เมื่อผ่านฟังก์ชั่น strrev() ก็จะเป็น 321  เป็นต้น


การอ่านและแสดงผลค่าของสตริง:

   ฟังก์ชั่น scant() และ ฟังก์ชั่น printf()  สามารถนำมาใช้เพื่อการรับข้อมูลชนิดขัอ  ความ และสั่งพิมพ์ข้อความ ในภาษาซียังมี  ฟังก์ชั่นเพื่อการรับค่าข้อมูลสตริง และพิมพ์  ข้อความสตริงโดยตรง ด้วยฟังก์ชั่น gets()  และ ฟังก์ชั่น puts() ซึ่งฟังก์ชั่นทั้งสอง ถูก  ประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์  <stdio.h>

1. ฟังก์ชั่น gets() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้รับค่าสตริง
2.ฟังก์ชั่น puts() เป็นฟังก์ชั่น ที่นำมาใช้พิมพ์ข้อความ หรือ  ตัวแปรสตริง

การแปลงข้อความที่เป็นตัวเลขเป็นค่าตัว  เลขที่นำไปคำนวณได้: ตัวแปรสตริงที่นำมาใช้เพื่อรับข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้งตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้แต่ถ้าเป็น  ตัวเลขล้วนๆถือว่าเป็นข้อความที่ไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่ทั้งนี้หากมีการยำข้อความที่เป็นตัวเลขมาผ่านฟังก์ชั่นแปรสตริงให้เป็นตัวเลขก็สามารถนำไปใช้เพื่อการคำนวณได้    
   1. ฟังก์ชั่น atof() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณได้โดยกำหนดให้มีชนิดข้อมูลเป็น double 
   2. ฟังก์ชั่น atoi() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณได้โดยกำหนดให้มีชนิดข้อมูลเป็น int 
   3. ฟังก์ชั่น atol() เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาใช้แปลงข้อความตัวเลขมาเป็นค่าตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณได้โดยกำหนดให้มีชนิดข้อมูลเป็น long  int

อ้างอิง
-หนังสือพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น