วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สรุปบทที่ 8 การสร้างฟังก์ชันและตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์

สรุปบทที่ 8 การสร้างฟังก์ชันและตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์

การเขียนโปรแกรมในภาษาซี  จำเป็นต้องแบ่งโปรแกรมออกเป็น ฟังก์ชันย่อยๆ ก็เพราะว่า
  1. เพื่อเป็นไปตามหลักการของการโปรแกรมเชิงโครงสร้าง
  2. เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และการบำรุงรักษา
  3. เพื่อหลีกเลี่ยงการเขียนชุดคำสั่งเดิม ที่ทำงานซ้ำๆ
  4. เพื่อสร้างกลุ่มคำสั่งประมวลผลเฉพาะงาน

  ฟังก์ชัน มีความแตกต่างกับโพรซีเยอร์ คือ ฟังก์ชันจะต้องมีการคืนค่ากลับเสมอ โดยชนิดข้อมูลที่คืนค่ากลับไป อาจมีชนิดข้อมูลประเภท int, float หรือ char เป็นต้นปกติชนิดข้อมูลที่คืนค่ากลับไปยังฟังก์ชัน main() คือเลขจำนวนเต็ม หรือ int การเข้าถึงฟังก์ชัน โดยปกติจะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ
  
  1. ฟังก์ชันที่ไม่มีการส่งผ่านค่าใดๆลงไป
  2. ฟังก์ชันที่มีการส่งผ่านค่าทางเดียว
  3. ฟังก์ชันที่จะส่งผ่านค่าไปและคืนค่ากลับมา
  

  กรณีที่โปรแกรมได้นำฟังก์ชันที่สร้างขึ้นเอง อยู่ถัดจากฟังก์ชัน main() จำเป็นต้องประกาศฟังก์ชันต้นแบบที่ต้นโปรแกรมด้วยพอยน์เตอร์หรือตัวชี้ เป็นตัวแปรประเภทหนึ่งที่มีความแตกต่างจากตัวแปรเก็บข้อมูลทั่วไป ซึ่งแทนที่จะจัดเก็บข้อมูล กลับเก็บที่อยู่ของตัวแปรอื่นแทนเครื่องหมาย & ที่ใช้กับ
พอยน์เตอร์ หมายความว่า “ที่อยู่ของ” เครื่องหมาย * ที่ใช้กับพอยน์เตอร์
หมายความว่า “ค่าที่บรรจุอยู่ในแอดเดรสนั้นตามปกติ โปรแกรมทั่วไปมิได้ใช้ประโยชน์จากพอยน์เตอร์ แต่พอยน์เตอร์มักนำไปใช้จัดการกับโครงสร้างข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างสแต็ก คิว และลิงก์ลิสต์ เป็นต้น




อ้างอิง

-หนังสือพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น